อาหารพื้นเมือง

อาหารพื้นเมือง



ข้าวฟืน

ที่มา:https://www.wongnai.com

         เรียกกันติดปากว่า “ข้าวแรมฟืน” หรือ “ข้าวแรมคืน” เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มีรสเปรี้ยว เผ็ด หวาน เป็นทั้งอาหารว่าง และอาหารหลัก เป็นได้ทั้งอาหารคาวและหวาน แต่ทุกอย่างเป็นมังสะวิรัต เป็นอาหารเจ ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวไทยใหญ่ ไทลื้อ และไทเขิน นำเข้ามาจากทางสิบสองปันนาประเทศจีน ผ่านมาทางพม่า แล้วเข้ามายัง อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว จนกลายเป็นอาหารของชาวแม่สาย คำว่า "ข้าวแรมฟืน" คงเพี้ยนมาจาก ข้าวแรมคืน ซึ่งชื่อนี้ก็คงมาจากวิธีการทำนั่นเอง เพราะจะนำข้าวเจ้า หรือ ถั่วลันเตา หรือ ถั่วลิสง มาโม่จนเป็นแป้ง แล้วนำน้ำแป้งที่ตกตะกอนมาเคี่ยวกับปูนขาวจนสุก จากนั้นเทใส่ภาชนะใดก็ได้ ทิ้งไว้ 1 คืน วันรุ่งขึ้นแป้งจะแข็งตัว ตามรูปภาชนะที่บรรจุ

ข้าวซอยน้อย 

 ที่มา:http://www.chiangraifocus.com/

          ข้าวซอยน้อยเป็นอาหารของชาวไทลื้อในอำเภอแม่สาย นิยมทานกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว เพราะเป็นอาหารที่ทำง่าย เครื่องปรุงต่างๆ ก็หาได้ภายในครัวนั่นเอง แต่ปัจจุบันจะหากินไม่ค่อยได้แล้ว เหตุที่เรียก “ข้าวซอยน้อย” สันนิษฐานว่า ไม่ใช่ข้าวซอยใหญ่ !!! (อ้าว ตอบงี้ เดี๋ยวมีสะอื้น) ก็เพราะข้าวซอยใหญ่ หมายถึง แผ่นก๋วยเตี๋ยวที่คนไทยภาคกลางนำมาตัดเป็นเส้นราดหน้า แต่ชนชาวไทยใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน นิยมนำมาหั่นเหมือนกัน แต่จะหั่นในลักษณะเส้นที่เล็กกว่ามาก นิยมนำเส้นที่ว่านี้มาทำเป็น “ข้าวซอยน้ำเงี้ยว” อีกอย่างหนึ่ง คือกรรมวิธีในการทำข้าวซอยน้อยนั้น เมื่อนำแป้งไปนึ่งแล้ว แผ่นก๋วยเตี๋ยวที่ได้จะมีลักษณะเล็กและบางกว่าแผ่นก๋วยเตี๋ยวที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป เพราะฉะนั้น อาจจะเรียกเพื่อให้แตกต่างกันเพื่อไม่ให้สับสน       

ข้าวซอยฮ่อ หรือ ข้าวซอยอิสลาม

                                                ที่มา:http://www.tumpla.pimkong.com/


          อาหารรสชาติเข้มข้น กลมกล่อมด้วยน้ำแกงที่มีส่วนผสมของกะทิ และมีส่วนช่วยบำรุงกำลังให้แก่ร่างกาย นอกจากนั้นยังมีพริกแกงที่มีส่วนผสมของเครื่องเทศ เช่น เฉาก่อ จันทร์แปดกลีบ คัวเจียว โขลกละเอียด แล้วนำไปผัดรวมกับเนื้อไก่ช่วยเพิ่มความเข้มข้น และความหอมให้กับน้ำแกง วิธีกินควรจัดเส้นข้าวซอยที่เป็นหมี่เหลืองลวกสุกใส่ชาม ใส่เนื้อไก่หรือเนื้อวัวที่คั่วกับพริกแกงแล้วตักน้ำแกงร้อน ๆ และน้ำกะทิราดบนเส้น โรยหน้าด้วยเส้นข้าวซอยทอดกรอบ กินกับเครื่องเคียงเช่น หอมแดงสดที่มีรสชาติเผ็ดร้อนแก้โรคไข้หวัด ผักกาดดองมีรสเปรี้ยวตัดกับความหวานมันของน้ำแกง และพริกป่นผัดน้ำมัน พร้อมใส่น้ำมะนาวเพื่อลดความมันของกะทิ ร้านข้าวซอยฮ่อที่รู้จักกันดีในจังหวัดเชียงราย คือร้านข้าวซอยอิสลาม หน้าโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม

น้ำเงี้ยว

ที่มา:http://www.tumpla.pimkong.com/

          ถือเป็นเมนูยอดนิยม เป็นอาหารพื้นบ้านภาคเหนือ คล้ายก๋วยเตี๋ยว แต่แตกต่างกันที่น้ำเงี้ยว มีน้ำแกงที่เข้มข้นด้วยเครื่องแกง มีเส้นก๋วยเตี๋ยว หรือขนมเส้น (ขนมจีน) เป็นส่วนประกอบหลัก และมีเนื้อสัตว์เช่น เนื้อหมู หรือเนื้อวัว เลือดหมู หรือเลือดไก่ หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ดอกงิ้ว มะเขือเทศ และถั่วเน่า จึงมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว น้ำเงี้ยวแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ น้ำเงี้ยวน้ำข้น ใส่เลือดหมูสดในน้ำแกงเหมือนก๋วยเตี๋ยวน้ำตก ส่วน น้ำเงี้ยวน้ำใส (น้ำจางหรือข้าวซอยน้ำคั่ว) ซึ่งเป็นของชาวไทใหญ่ จะใช้เนื้อไก่หรือเนื้อหมูสับ คั่วกับมะเขือเทศ ผัดกับเครื่องแกง ที่มีพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ถั่วเน่าแผ่น (ถั่วเหลืองหมัก) เหมือนน้ำพริกอ่องแยกต่างหากจากน้ำแกง เวลารับประทานน้ำเงี้ยว โดยทั่วไปจะลวกเส้นก๋วยเตี๋ยว หรือใช้เส้นขนมจีนแล้วจึงตามด้วยน้ำแกงที่เป็นน้ำเงี้ยว รับประทานกับถั่วงอก ผักกาดดองหั่นฝอย ต้นหอม ผักชี และกระเทียมเจียว

ข้าวกั๊นจิ๊น 

                                                        ที่มา:http://www.paigin.com/

          ข้าวกั๊นจิ๊นหรือข้าวเงี้ยว เป็นอาหารของชาวไทใหญ่ที่แพร่หลายในล้านนา เป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อย พกพาไปไหนๆ ได้สะดวก เหตุที่เรียกข้าวกั๊นจิ๊นนั้น เพราะคำว่า “กั๊น” เป็นคำกริยาในภาษาล้านนาแปลว่า นวด เพราะขั้นตอนของการทำข้าวกั๊นจิ๊นนั้นต้องนวด ข้าวให้เข้ากับเลือดด้วย แต่บางคนเข้าใจว่าเป็นข้าว “กั้น” จิ๊น หรือข้าว ที่ไม่มีเนื้อสัตว์ เพราะคิดว่าคำว่า “กั้น” นั้นคืออดอยาก ก็มี (สังเกตวรรณยุกต์ ต่างกัน) ข้าวกั๊นจิ๊นนั้น บางครั้งเรียกว่า “ข้าวเงี้ยว” เพราะเป็นอาหารของชาวไทใหญ่ ในอดีตชาวล้านนามักจะเรียกชาวไทใหญ่ว่าเงี้ยว ซึ่งมีนัยของการดูถูกชาติพันธุ์ว่าเป็นชนชาติที่เจ้าเล่ห์ คบไม่ได้ และเรียกสิ่งต่างๆ ที่เป็นของชาวไทใหญ่ว่าเงี้ยว ต่อท้าย เช่น ฟ้อนเงี้ยว หรือ ข้าวเงี้ยว เป็นต้น

แคบหมู

                                                      ที่มา:http://kitchen.homefy.com/

          อาหารสำเร็จรูปชนิดหนึ่ง ซึ่งต้องนำหนังหมูมาผ่านการทำให้พองตัว การบริโภคแคบหมูอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น นำมาบริโภคในรูปของอาหารคาวโดยตรง ใช้เป็นเครื่องจิ้มกับน้ำพริกต่างๆ หรือรับประทานร่วมกับขนมจีนน้ำเงี้ยว ซึ่งเป็นอาหารท้องถิ่นของชาวไทยภาคเหนือ นอกจากนี้ยังสามารถนำแคบหมูมาบริโภค เป็นกับแกล้มก็ได้
          การผลิตแคบหมูโดยทั่วไปจะเริ่มจากการเปลี่ยนคอลลาเจน (collagen) ซึ่งเป็นโปรตีนส่วนใหญ่ในหนังหมู โดยเฉพาะบริเวณหนังชั้นใน (dermis หรือ corium) ให้เป็นเจลาติน (gelatin) โดยเป็นโครงสร้างที่สามารถกักเก็บความชื้นเอาไว้ภายใน การเปลี่ยนคอลลาเจนเป็นเจลาตินนี้ จะต้องใช้ความร้อนชื้น (moist heat) เช่น การต้มหนังหมูในน้ำเดือดจนหนังหมูเหล่านั้นสุก ต่อมาจะต้องทำให้ผิวหน้าของหนังหมูเกิดความแข็ง (case hardening) ขึ้น โดยการเคี่ยว (rendering) หนังหมูในน้ำมันที่อุณหภูมิไม่สูงมากนัก นอกจากนี้การเคี่ยวยังเป็นการลดความชื้นของหนังหมูลงอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้หนังหมูมีความชื้นภายในที่เหมาะสม สำหรับการพองตัว การทำให้ผิวหนังของหนังหมูมีความแข็ง เพียงพอที่สามารถทนต่อแรงดันที่เกิดขึ้นในขณะทอดให้พองตัว ทำให้โครงสร้างของแคบหมูไม่ยุบตัวลงมากในระหว่างการทอดให้พองตัว
          นอกจากนี้การทำให้ผิวหน้าของหนังหมูแข็งตัวอย่างพอเหมาะ จะมีผลต่อความกรอบของแคบหมูด้วยผู้ผลิตแคบหมูบางรายอาจนำหนังหมูที่ผ่านการต้มให้สุกแล้วมาผึ่งแดดให้แห้ง ก่อนการเคี่ยวเพราะเจลาตินที่เกิดขึ้นในระหว่างการต้มหนังหมูนั้น มีลักษณะเหนียวเมื่อมีความชื้นสูง แต่ความเหนียวของเจลาตินจะลดลงเมื่อยู่ในสภาพที่มีความชื้นต่ำ และการทำให้หนังหมูแห้งลงก่อนการเคี่ยวจะเป็นการป้องกันการกระเด็นของน้ำมันในขณะเคี่ยวได้เป็นอย่างดี เมื่อเคี่ยวจนผิวหน้าของหนังหมูแข็งตัวแล้ว จะนำหนังหมูไปทอดให้พองตัวในน้ำมันที่ร้อนจัด เพราะในขณะทอดจะทำให้ไอน้ำที่ถูกกักไว้ในเจลาตินเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเกิดแรงดันขึ้นภายในหนังหมู ทำให้หนังหมูพองตัวได้

น้ำพริกอ่อง


ที่มา:http://www.tumpla.pimkong.com/


เป็นน้ำพริกซึ่งนิยมรับประทานกันในภาคเหนือของประเทศไทยพอ ๆ กับน้ำพริกหนุ่ม มีรสเผ็ดพริก  เปรี้ยวมะเขือเทศ และเค็มถั่วเน่า ส่วนผสมทั้งสามอย่างนี้ทำให้น้ำพริกมีสีแดงส้มสะดุดตา
น้ำพริกอ่องจะมีลักษณะคล้ายผัดหมูสับ มากกว่าจะเป็นน้ำพริกไว้จิ้มทั่วไป สามารถใส่น้ำขลุกขลิกหรือใส่น้ำจนลักษณะคล้ายแกงก็ได้ เป็นน้ำพริกที่นิยมรับประทานกับแคบหมูและผักสด เช่น
แตงกวาหั่นแว่น ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว กะหล่ำปลี มากกว่าผักลวกหรือผักนึ่ง


;ที่มา:http://www.thaipr.net/

ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี

   ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี


แห่พระแวดเวียง


ที่มา:http://www.chiangraifocus.com/


ประเพณีอัญเชิญพระพุทธรูปแวดเวียงเชียงราย ซึ่งมีพื้นฐานความคิดมาจากตำนานพระเจ้าเลียบโลก ด้วยมีจุดมุ่งหมาย ให้ประชาชนได้มีโอกาสสักการบูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งประดิษฐานอยู่ตามวัดวาอารามต่าง ๆ ในตัวเมืองเชียงราย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในวาระของการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ โดยการอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย มาประดิษฐานบนบุษบกที่ได้สร้างขึ้นโดยช่างศิลปินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย จัดตั้งเป็นขบวนอัญเชิญไปรอบเมืองเชียงราย ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบไหว้สักการบูชาด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่เป็นสิริมงคลยิ่งนัก

ปอยหลวง


ที่มา:http://www.chiangrai108.com/

งานบุญปอยหลวงเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคมหลายประการ นับตั้งแต่ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม ช่วงเวลา จากเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน



ป๋าเวณี ปี๋ใหม่เมือง งานประเพณีสงกรานต์


ที่มา:http://www.matichon.co.th/

จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน ในงานมีขบวนแห่และสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง การแข่งเรือ และการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพ จัดบริเวณตัวเมืองเชียงราย และอำเภอเชียงแสน

งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย


ที่มา:http://magic-ontours.com/

เทศกาลที่ชาวเกษตรกรต่างนำผลผลิตทางการเกษตรของตนมาออกร้าน โดยเฉพาะลิ้นจี่ที่มีชื่อเสียงมากของเชียงราย จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ภายในงานมีการประกวดขบวนรถและธิดาลิ้นจี่ และการออกร้าน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย


งานไหว้สาพญามังราย


ที่มา:http://www.rose220.fagkhay.com/

จัดให้มีพิธีบวงสรวงพญามังราย มีการออกร้าน จัดนิทรรศการของส่วนราชการและเอกชน และงานรื่นเริงอื่น ๆ จัดวันที่ 23 มกราคม-1 กุมภาพันธ์


เป็งปุ๊ด


ที่มา:www.oknation.net


“เป็งปุ๊ด” หรือ “เพ็ญพุธ” เป็นประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนค่อนรุ่งเข้าสู่วันเพ็ญขึ้น15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ตามวัฒนธรรมและความเชื่อของบรรพบุรุษล้านนาไทย ที่เชื่อกันว่าพระอุปคุตซึ่งพระอรหันต์องค์หนึ่งแปลงกันยายนป็นสามเณรน้อยมาบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกในยามเที่ยงคืน และชาวล้านนาในอดีตเชื่อว่าการทำบุญตักบาตรถวายพระอุปคุตในวันเป็งปุ๊ดก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ มีโชคลาภและร่ำรวย บังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยบรรพบุรุษชาวล้านนาเชื่อว่า ทุกคืนที่ย่างเข้าสู่วันพุธขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันเป็งปุ๊ด และจะมีประชาชนชาวล้านนาจำนวนมากมารอเพื่อประกอบพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร


งานอนุรักษ์มรดกไทยล้านนา


ที่มา:http://student.nu.ac.th/

จัดในเดือนเมษายน มีการจัดนิทรรศการและการแสดงแบบไทยล้านนา มีการสาธิตงานศิลปะ บริเวณหอวัฒนธรรมนิทัศน์ อำเภอเมือง


งานประเพณีขึ้นพระธาตุดอยตุง


ที่มา:http://pirun.ku.ac.th/

จัดขึ้นในวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือนหกเหนือ หรือเดือนมีนาคม เป็นประเพณีของชาว ล้านนา รวมทั้งชาวไทยใหญ่ในพม่าที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยชาวบ้านและพระสงฆ์ จะเดินขึ้นพระธาตุในตอนกลางคืน เมื่อมาถึงก็จะพากันนมัสการองค์พระธาตุก่อน จากนั้นจึงหาพื้นที่ประกอบอาหารเพื่อตักบาตรในตอนเช้า หลังจากตักบาตรแล้วจะ ช่วยกันบูรณะบริเวณองค์พระธาตุ เมื่อถึงยามค่ำคืนก็มารวมกันที่ปะรำพิธีเพื่อฟังเทศน

       ประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก


ที่มา:http://pirun.ku.ac.th/

เป็นประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อของผู้คนที่อยู่ริมแม่น้ำโขง โดยเฉพาะชาวประมง ในเขตบ้านหาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ เกี่ยวกับปลาบึกซึ่งเป็นปลาขนาด ใหญ่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงว่า เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ มีเทพเจ้าคุ้มครอง ก่อนที่ชาวประมง จะจับปลาบึกต้องมีการบวงสรวงก่อน ฤดูกาลจับปลาบึกันยายน่ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม


ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอีก้อ


ที่มา:http://www.trueplookpanya.com/

หรือที่เรียกตนเองว่า "อาข่า" มีเชื้อสายจากจีน-ทิเบต เดินทางอพยพมาอยู่บริเวณ ชายแดนไทย-พม่า แถบตอนเหนือของลำน้ำกก โดยเฉพาะอำเภอแม่จัน และแม่สาย การโล้ชิงช้าเป็นการขึ้นไปขอพรและแสดงความรำลึกถึงพระคุณของเทพธิดาแห่ง สรวงสวรรค์ ผู้ประทานความชุ่มชื่นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหารและ ยังเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกด้วย จัดในช่วงเดือนสิงหาคม











แหล่งท่องเที่ยว

              แหล่งท่องเที่ยว


                                                         ภูชี้ฟ้า


ที่มา: http://travel.kapook.com

วนอุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่อิงฝั่งขวาและป่าแม่งาว ฟ้าทอง มีพื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้มีคำสั่งจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 พื้นที่วนอุทยานเป็นยอดเขาสูงในเทือกเขาดอยผาหม่น ติดชายแดนไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ภูชี้ฟ้า ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงทางตะวันออกของจังหวัดเชียงราย อยู่ระหว่างรอยตะเข็บชายแดนไทย–ลาว ลักษณะเป็นหน้าผาสูงเป็นแนวยาวไปตามแนวชายแดน บริเวณปลายสุดของหน้าผามีลักษณะแหลมคล้ายกับนิ้วมือชี้ยื่นออกไปในอากาศ จึงเป็นที่มาของชื่อ "ภูชี้ฟ้า" จุดที่สูงสุดของภูชี้ฟ้าอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,200 ถึง 1,628 เมตร เบื้องล่างของหน้าผาเป็นแอ่งหุบเขา เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเชียงตอง แขวงไชยบุรี ประเทศลาว
  

                                                               ดอยตุง


                                                        ที่มา;http://travel.mthai.com/

ดอยตุง หรือพระตำหนักดอยตุง ก่อตั้งขึ้นจากพระราชดำริของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าของเรา โดยมีพระราชกระแสรับสั่งว่า หลังพระชนมายุ 90 พรรษา จะไม่เสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีก สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์จึงได้เลือกดอยตุง ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม ประกอบกับพระองค์ทรงพอพระราชหฤทัยกับดอยตุงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงมีพระราชดำริจะสร้างบ้านที่ดอยตุง
พร้อมกันนี้ยังมีพระราชกระแสรับสั่งว่า จะปลูกป่าบนดอยสูง จึงกำเนิดเป็นโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น โครงการพัฒนาดอยตุงเริ่มดำเนินการโดยความร่วมมือจากหน่วยราชการทุกส่วน เช่น กรมป่าไม้ กรมชลประทาน หน่วยงานด้านปกครอง นอกจากทำการปลูกป่าฟื้นฟูสภาพพื้นที่แล้วยังมีการฝึกอาชีพ เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวเขาบนดอยตุง ซึ่งประกอบด้วยชาวเขาเผ่าอาข่าลาหู่ ไทยใหญ่ และจีนฮ่อ ขณะเดียว กันยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้

อาคารพระตำหนักดอยตุง มีลักษณะการก่อสร้างเป็นการผสมผสานระหว่าง สถาปัตยกรรมล้านนา บ้านปีกไม้ และบ้านแบบพื้นเมือง ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มี 2 ชั้น และชั้นลอยที่ประทับ ชั้นบนแยกเป็น 4 ส่วน แต่เชื่อมเป็นอาคารหลังเดียวกัน เสมอกับลานกว้าง นับว่ามีความสวยงามอย่างมาก

ไฮไลท์สำคัญในการมาเที่ยวดอยตุง นั่นก็คือการเก็บภาพความประทับใจกับทุ่งดอกไม้สีสันสดใส นั่นคือสวนแม่ฟ้าหลวง เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาวในหุบเขา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 เดิมมีพื้นที่ 12 ไร่ มีการปลูกดอกไม้หมุนเวียนสลับ ให้ออกดอกไม่ซ้ำกันตลอดสามฤดู ล้อมรอบประติมากรรมชื่อ “ความต่อเนื่อง”เป็นรูปเด็กยืนต่อตัวที่กลางสวน นอกจากนี้ ยังจัดแต่งสวนหินซึ่งประดับด้วยหินภูเขากลมเกลี้ยงขนาดใหญ่ สวนน้ำอุดมด้วยไม้น้ำพันธุ์ต่างๆ บัว และสวนปาล์มที่รวบ รวมปาล์มไว้มากมายในพื้นที่ 13 ไร่ สวนแม่ฟ้าหลวงจึงมีพื้นที่ทั้งสิ้น 25 ไร่


                                                              วัดร่องขุ่น

                                                      ที่มา:http://rachateawthai.com/

วัดร่องขุ่นถือเป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงรายถือเป็นผลงานการออกแบบและก่อสร้างโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรเรืองนาม ที่อุทิศตนสร้างวัดอันยิ่งใหญ่นี้ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์ให้วัดแห่งนี้ งดงามดังสวรรค์ที่มีอยู่จริง ซึ่งมนุษย์สามารถสัมผัสได้บนพื้นพิภพคล้ายเป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้คนเราใฝ่ปฏิบัติธรรมและประกอบแต่กรรมดีในการดำเนินชีวิต พระอุโบสถ วัดร่องขุ่น มีความโดดเด่นด้วยเอกลักษณ์ทางศิลปะ และสถาปัตยกรรมที่แสนวิจิตรอลังการ ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงช่อฟ้าใบระกาและรายละเอียดซึ่งแตกต่างไปจากวัดแห่งอื่น โดยตัวพระอุโบสถที่เน้นสีขาวบริสุทธิ์นั้นสื่อแทนพระบริสุทธิคุณขณะที่กระจกขาววาววับจับประกายระยิบระยับหมายถึงพระปัญญาธิคุณของพระพุทธองค์ที่โชติจรัสชัชวาลไปทั่วทั้งโลกมนุษย์และจักรวาล    นอกจากนี้ยังมีจิตรกรรมฝาผนังที่แสนอลังการฝีมือของอาจารย์เฉลิมชัยเองซึ่งไม่น่าพลาดชมอยู่ภายในโบสถ์อีกด้วย
ภายในพระอุโบสถประกอบด้วยภาพเขียนสีทองตามผนังทั้ง 4 ด้าน เพดานและพื้นเป็นภาพเขียนที่แสดงถึงการหลุดพ้นจากกิเลสมาร มุ่งเข้าสู่โลกุตรธรรม ส่วนหลังคาพระอุโบสถได้นำหลักการของการปฏิบัติจิต 3 ข้อ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน วัดกำลังสร้างต่อเติมไปเรื่อยๆ ให้ครบทั้ง 9 หลังตามเป้าหมาย ให้เป็นอาคารที่มีรูปทรงแตกต่างกัน เพื่อนเป็นเมืองสวรรค์อันยิ่งใหญ่ ให้คนทั้งโลกยอมรับและชื่นชมในผลงานการสร้างพุทธศิลป์แห่งนี้ถึงแม้ว่าการก่อสร้างวัดนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ความงามที่ปรากฏได้สร้างความสุขทางใจให้ดื่มด่ำไปกับเรื่องราวในพุทธศาสนาในรายละเอียดตกแต่งที่พิถีพิถันทั่วทุกมุม ซึ่งไม่เพียงแต่ความวิจิตรที่สัมผัสได้เพียงภายนอกเท่านั้น แต่ยังสื่อถึงหลักธรรมในศาสนาที่ลึกซึ้งให้ผู้ที่มาเยือนได้กลับไปขบคิดกันอีกด้วย เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.30 – 18.00 น.
ที่ตั้งและการเดินทาง
วัดร่องขุ่นตั้งอยู่ที่ตำบลป่าอ้อดอนชัยอำเภอเมืองเชียงรายจังหวัดเชียงรายจากเชียงรายไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ( เชียงราย - แม่ลาว ) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 816 เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 100 เมตร

                                                              แม่สาย

                                                ที่มา:http://www.rose220.fagkhay.com/

แม่สายอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 61 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 110 เป็นอำเภอเหนือสุดของ ประเทศไทย ติดกับจังหวัดท่าขี้เหล็กของพม่า โดยมีแม่น้ำแม่สายเป็นพรมแดน มีสะพานเชื่อมเมืองทั้งสองเข้า ด้วยกัน ทั้งชาวไทยและชาวพม่าเดินทางไปมาหาสู่ค้าขายกันได้โดยเสรี นักท่องเที่ยวชาวไทยนิยม เดินทางไป ยังตลาดชาย แดนแม่สายและท่าขี้เหล็กของพม่า เพื่อซื้อสินค้าพื้นเมืองและสินค้าราคาถูก เช่น สบู่พม่าสมุนไพร เครื่องทองเหลือง ตะกร้า การข้ามไปท่าขี้เหล็กนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางเข้าเขตประเทศพม่าได้ทุกวัน ระหว่าง เวลา 16.30-18.00 น. โดยใช้บัตรประชาชน หรือบัตรอื่น ๆ ที่ทางราชการออกใ้ ค่าบริการคนละ 30 บาท ค่าผ่าน แดนเข้าพม่า 10 บาท สินค้าที่ไม่อนุญาตให้ซื้อเข้าไทย ได้แก่ สินค้าจากซากสัตว์ป่า สุรา บุหรี่ต่างประเทศและ ซีดีอนาจาร หากซื้อมาเพื่อ การค้าต้องเสียภาษีนำเข้าให้ถูกต้องด้วยด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สาย 
 สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ
1.วัดพระธาตุดอยเวา
เป็นวัดอันเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุดอยเวา พระธาตุที่เชื่อกันว่า มีความเก่าแก่เป็นรองพระธาตุดอยตุง พระธาตุ ดอยเวานั้น ตั้งอยู่บนยอดดอยเวา แต่พระอุโบสถและเขตสังฆาวาสจะอยู่ที่เชิงดอย ผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการ ต้องเดิน ขึ้นบันไดไปนมัสการ ซึ่งข้างบนเป็นจุดชมทัศนียภาพสองฝั่งสามารถเห็นทัศนียภาพได้รอบทิศ ปัจจุบันมีประเพณ นมัสการ พระธาตุในทุกๆปี โดยจะจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เหนือ (ตรงกับเดือน 3 ใต้ คือ วันมาฆบูชา) และมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ในวันสงกรานต์ของทุกปี ปัจจุบันมีประเพณีนมัสการพระธาตุในทุกๆปี โดยจะจัดขึ้น ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เหนือ (ตรงกับเดือน 3 ใต้ คือ วันมาฆบูชา) และมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ในสงกรานต์ ของทุกปี บริเวณโดยรอบองค์พระธาตุบนยอดนั้น ยังเป็นที่ตั้งของไพชยนต์ปราสาท ซึ่งเป็นวิหารขนาดเล็ก ประดิษฐานพระแก้วมรกตจำลอง(หรือโดยนัยว่าเป็นพระอินทร์) และมีรูปปั้นแมงป่องยักษ์ เพื่อรำลึกถึงพระองค์ เวา (เวาภาษาล้านนาแปลว่าแมงป่อง) และมีพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้สักการะบูชา นอก จากนี้ยังมีจุดชมทัศนียภาพสองฝั่งสายด้วยปัจจุบันได้มีถนนขึ้นและลงดอยแล้ว เป็นถนนคอนกรีตอย่างดี ใช้ได้ทุกฤดูกาล แต่ทางค่อนข้างชัน 
2.ถ้ำผาจม 
หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สาย อยู่ห่างจากอำเภอแม่สายไปทางทิศเหนือประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถ้ำผาจมตั้งอยู่บนดอย อีกลูกหนึ่ง ทางทิศตะวันตกของดอยเวา ติดกับแม่น้ำสาย เคยเป็นสถานที่ซึ่งพระภิกษุสงฆ์นั่งบำเพ็ญเพียรภาวนา เช่นพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ปัจจุบันมีรูปปั้นของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ประดิษฐานไว้บนดอยด้วยภายใน ถ้ำผาจม มีหินงอกหินย้อยอยู่ตามผนังและเพดานถ้ำ สวยงามวิจิตรตระการตา 

3.ถ้ำปุ่ถ้ำปลาถ้ำเสาหินพญานาค

ตั้งอยู่ที่ดอยจ้อง หมู่ที่ 11 ตำบลโป่งผา ห่างจากอำเภอแม่สายไปทางทิศใต้ตามทางหลวงหมายเลข110 ประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ดอยจ้องเป็นภูเขาหินปูน จึงประกอบด้วย ถ้ำหินงอก หินย้อย และทางน้ำไหลมากมายถ้ำปุ่ม อยู่สูงขึ้นไปบนยอดเขา ต้องปืนขึ้นไป ภายในถ้ำมืดมาก ต้องมีผู้นำทาง ถ้ำปลา เป็นถ้ำหนึ่งที่มีน้ำไหลภายในถ้ำ เคยมีปลาชนิดต่าง ๆ ทั้งใหญ่น้อยว่ายออกมาให้เห็นเป็นประจำ ภายใน ถ้ำยังมีพระพุทธ รูปศิลปะพม่า สร้างขึ้นโดยพระภิกษุชาวพม่า ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “พระทรงเครื่อง” เป็นที่เลื่อม ใสของประชาชนใน แถบนี้ถ้ำเสาหินพญานาค อยู่ในบริเวณเดียวกัน เดิมต้องพายเรือข้ามน้ำเข้าไปชม ภายหลังได้ สร้างทางเดินเชื่อมกับ ถ้ำปลา ระยะทาง 150เมตร ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย และยังเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมด้วย

2. นมัสการพระเชียงแสนสี่แผ่นดิน 
พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน หรือ พระพุทธนวล้านตื้อ ประดิษฐานกลางแจ้ง ณ สามเหลี่ยมทองคำ พระพุทธนวล้านตื้น องค์นี้เป็นพระเชียงแสนสี่แผ่นดินเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งได้สร้างขึ้นแทนองค์เดิมที่จมลงแม่น้ำโขง และสร้างขึ้น ด้วยทองสัมฤทธิ์ ปิดทองด้วยบุศราคัม น้ำหนักถึง 69 ตัน หน้าตักกว้าง 9.99 ม.สูง


                                          หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ 

ที่มา:http://pantip.com/topic/32898951

หอนาฬิกาหลังใหม่ของจังหวัดเชียงราย โดยความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครเชียงรายและอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ตัวหอนาฬิกามีสีทอง มีเสียงระฆังบอกเวลาทุกชั่วโมง และที่สำคัญเมื่อถึงเวลา 2 ทุ่มและ 3 ทุ่มของทุกวัน จะมีการเล่น แสง สี  เสียงประกอบเพลงเชียงรายรำลึก หอนาฬิกาจะเปลี่ยนสีจากสีทอง เป็นสีแดง ชมพู ฟ้า เขียว และอื่นๆ สลับกันไปมา ตรงกลางอาคารจะมีดอกบัวค่อยๆโผล่ออกมา และบานออกในที่สุด เป็นที่ตื่นตาตื่นใจต่อนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่มาเฝ้ารอเวลานั้นๆ

                                                     ดอยแม่สลอง

ที่มา:http://travel.thaiza.com/

ดอยแม่สลอง ตั้งอยู่ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวจีนฮ่อ แห่งกองพล 93 ที่ตั้งหลักแหล่งบนดอย แห่งนี้มานาน ปัจจุบันชุมชนชาวจีนบนดอยแม่สลอง มีชื่อว่า หมู่บ้านสันติคีรี ตั้งอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ย 1,200 ม. มีทัศนียภาพที่สวยงามและอากาศเย็นสบายตลอดปี รายได้หลักมาจากการปลูกชาอู่หลง บ้านสันติคีรี เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากร ประมาณ 800 หลังคาเรือน มีทั้งวัด โบสถ์คริสต์ มัสยิด ระบบไฟฟ้า โทรศัพท์ และธนาคารทหารไทย ที่ให้บริการ อย่างสมบูรณ์แบบ

แหล่งข้อมูล




ข้อมูลทั่วไปจังหวัดเชียงราย

       ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด

     
 ที่มา:http://www.chiangrai108.com

         คำขวัญประจำจังหวัด


“เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน
ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง”

    แผนที่จังหวัดเชียงราย



ที่มา: http://forums.panteethai.com/

                     
เชียงราย ดินแดนแห่งขุนเขา เป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ 785 ก.ม. มีเนื้อที่ประมาณ 11,678.369 ตร.ก.ม. หรือประมาณ 7,298,981 ไร่ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตั้งแต่สมัยเชียงแสนของพญามังราย ผู้ก่อตั้งเมืองเชียงรายบนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำกก อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้บนดอยสูงที่สลับซับซ้อน เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำและน้ำตกอันงดงามหลายแห่ง และมีเทือกเขาผีปันน้ำที่เป็นพรมแดนกั้นประเทศสหภาพพม่าจนถึงด้านทิศเหนือ อีกทั้งเป็นจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทย เป็นพรมแดนกั้นกลางระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เชียงรายมีประชากรหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพื้นราบ ชาวไทยภูเขา และชาวจีนฮ่อที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนดอยสูง แต่ละชนชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ เป็นเสน่ห์อีกอย่างที่ทำให้เชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่า และประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดลำปาง และจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่า และจังหวัดเชียงใหม่

*แนวเขตชายแดนติดต่อกับประเทศพม่า ด้านอำเภอแม่จัน แม่สาย แม่ฟ้าหลวง และเชียงแสน รวม 130 กิโลเมตร แยกเป็นแนวภูเขา 100 กิโลเมตร แนวแม่น้ำสาย 10 กิโลเมตร และแนวแม่น้ำรวก 20 กิโลเมตร
*แนวเขตชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีระยะทาง 180 กิโลเมตร โดยเป็นแนวแม่น้ำโขง 90 กิโลเมตร และแนวภูเขา 94 กิโลเมตร

สภาพภูมิประเทศ

เชียงรายมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ ( North Continental Highland ) มีพื้นราบสูง เป็นหย่อมๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย เวียงป่าเป้า และเชียงของ บริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500 - 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล บริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ ได้แก่ อำเภอพาน เมือง แม่จัน แม่สาย เชียงแสน และเชียงของ มีความสูงประมาณ 410 - 580 เมตร จาก ระดับน้ำทะเล


สภาพภูมิอากาศ

อุณหภูมิ ในห้วงปี 2545 – 2550 จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 24.81 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 16.90 ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยปีละ 1,755 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2550 จำนวน 2,041.7 มิลลิเมตร น้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 140 วันต่อปี

ที่มาข้อมูล:http://www.chiangraifocus.com/



ประวัติความเป็นมาของจังหวัดเชียงราย

  ประวัติความเป็นมาของจังหวัดเชียงราย

 

     เชียงราย เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำกก จึงเป็นดินแดนที่มีผู้คนเข้ามาตั้งหลักแหล่ง ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในเขตที่ราบลุ่มรอบแม่น้ำกก สันนิษฐานว่า บริเวณนี้เป็นศูนย์กลางของชุมชนตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.1800 เพราะมีร่องรอยของซากเมืองที่มีความเจริญ ทางวัฒนธรรมและศิลปะ ซากเมืองโบราณที่ค้นพบในปัจจุบันมีถึง 27 เมือง ตั้งแต่ อ.ฝาง ของเชียงใหม่ ซึ่งเป็นต้นแม่น้ำกก มาจนถึงเมืองเชียงแสน  แสดงให้เห็นว่า มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำกก อย่างหนาแน่น และได้ขยายตัวสร้างบ้านแปงเมืองกันไม่ขาดสาย

ประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงรายเริ่มต้นในสมัยต้นพุทธศตวรรษที่ 19 โดยพญามังราย (พ.ศ.1781 - 1860) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย บุตรของพญาลาวเม็ง ผู้ครองนครหิรัญนครเงินยาง (เชียงแสนในปัจจุบัน) ได้ขึ้นครองราชย์แทนพญาลาวเม็ง ในปี พ.ศ.1802 และได้ย้ายราชธานี จากเมืองหิรัญนครเงินยาง มาสร้างราชธานีแห่งใหม่ ที่ริมฝั่งแม่น้ำกก เมื่อ พ.ศ.1805 และได้ขนานนามว่า เชียงราย หมายถึง "เมืองของพญามังราย"

จากนั้นจึงได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครือญาติสายเลือดลัวะจักราช เช่น เมืองเชียงไร เมืองไร เมืองปง เมืองเวียงคำ เชียงเงิน เชียงของ ฯลฯ เข้ามาไว้ในอำนาจ และแผ่อำนาจเข้าไปในเขตลุ่มน้ำปิง ปี พ.ศ.1839 ทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ให้ชื่อราชธานีใหม่ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่" และครองราชย์อยู่ที่เชียงใหม่ตลอด โดยให้ราชโอรส ไปครองเมืองเชียงรายแทน เชียงรายจึงกลายเป็นเมืองบริวารของเชียงใหม่ไป



เมื่อพญามังรายสวรรคตลง ภายในอาณาจักรล้านนาอันมีเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีเกิดความแตกแยกกัน เจ้าผู้ครองนครแก่งแย่งชิงอำนาจกัน จนเกิดสงครามกลางเมือง พระเจ้าบุเรงนองฉวยโอกาส เข้าตีอาณาจักรล้านนาสำเร็จ พม่าจึงได้ปกครองอาณาจักรล้านนาเป็นเวลากว่า 200 ปี และได้ฟื้นฟูเมืองเชียงแสนขึ้นเป็นเมืองสำคัญ ในการปกครองของหัวเมืองฝ่ายเหนือ

ต้นพุทธศตวรรษที่ 24 สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พญากาวิละ เป็นผู้ซึ่งมีบทบาทสูง ในการเกลี้ยกล่อมให้บรรดาเมืองต่างๆ ในล้านนา ร่วมมือกันต่อสู้กับพม่า แต่ยังไม่สำเร็จ จนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ทรงส่งกำลังมาสนับสนุนพญากาวิละ ต่อสู้กับพม่าจนเป็นผลสำเร็จ ทรงสถาปนาให้เชียงใหม่เป็นประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงแต่งตั้งพญากาวิละเป็น "พระเจ้ากาวิละ" ปกครองเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2347 พระเจ้ากาวิละ ทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงแสน และกวาดต้อนผู้คนออกจากบริเวณเมืองจนหมด เมืองต่างๆ รวมทั้งเมืองเชียงราย จึงถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้าง

ต่อมาในปี พ.ศ.2386 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 เชียงรายได้รับการบูรณะขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในฐานะเมืองบริวารของเชียงใหม่ โดยมีเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เป็นเจ้าปกครองนคร

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินนโยบายสร้างความเป็นเอกภาพทางการเมือง ประกาศจัดตั้งมณฑลพายัพขึ้น ในปี พ.ศ.2427 และยกเลิกหัวเมืองประเทศราชล้านนาไทย เมืองเชียงรายจึงจัดเป็นเมืองหนึ่งซึ่งขึ้นตรงต่อมณฑลพายัพ ในสมัยรัชกาลที่ 6 การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลจึงถูกยกเลิก เชียงรายจึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดหนึ่งของสยามประเทศมานับตั้งแต่นั้นมา


ที่มาของข้อมูล:http://history.thai-tour.com/chiangrai